fbpx

โต ติงต๊อง ออดิโอ อีเวนท์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น

เพื่อการเริ่มต้นอย่างมั่นใจ ดำเนินไปอย่างราบรื่น และจบลงอย่างสง่างาม

Update ล่าสุด 5 มีนาคม พ.ศ.2563 -- เพิ่มรายละเอียดข้อ 11 และ 19

-----

ตอบข้อสงสัย (อ้างอิงตามประกาศ)

  1. ประกาศนี้คืออะไร?
    • เป็นประกาศยกเลิกความถี่ใช้งานของไมโครโฟนไร้สาย และ Wireless In-Ear Monitor เดิม (794-806MHz) เป็นความถี่ใหม่ โดยมีผลตั้งแต่ 31 มีนาคม พ.ศ.2564 เป็นต้นไป
  2. ความถี่ใหม่มีอะไรบ้าง? 
    • แบ่งเป็น 3 ช่วงคือ 694-703MHz / 748-758MHz และ 803-806MHz
  3. อุปกรณ์ที่มีผลต่อประกาศนี้มีอะไรบ้าง?
    • ไมโครโฟนไร้สาย, In-Ear Monitor, Wireless Guitar / Instrument และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งสัญญาณเสียงทางคลื่นวิทยุ
  4. ข้อดีของความถี่ใหม่?
    • มีความกว้าง (Bandwidth) มากกว่าเดิม 10MHz สามารถใช้งานไมโครโฟนไร้สายและ Wireless In-Ear Monitor พร้อมกันได้จำนวนมากขึ้น
  5. ข้อเสียของความถี่ใหม่?
    • เนื่องจากช่วงความถี่ห่างกันมากทำให้ต้องแยกซื้ออุปกรณ์ตามช่วงความถี่ (ไม่สามารถเอามาใช้งานข้ามช่วงกันได้) ยกเว้นจะซื้อรุ่นสูงจากผู้ผลิตใด ๆ
  6. สามารถใช้ความถี่เดิมได้จนถึงเมื่อไหร่?
    • 31 มีนาคม พ.ศ.2564 และต้องหยุดใช้งานทันที
  7. ถ้าฝ่าฝืนมีโทษอย่างไรบ้าง?
    • อ้างถึง พรบ.วิทยุ​ฯ พ.ศ.2498 คือจำคุกไม่เกิน 5 ปี, ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ต่อ 1 ชิ้น)
  8. ไมโครโฟนไร้สายและ Wireless In-Ear Monitor ของฉันมี NTC. ID (ตราครุฑ) แปะอยู่ แปลว่าสามารถใช้ได้อย่างถูกต้องตามกฏหมายสิ!
    • หลัง 31 มีนาคม พ.ศ.2564 กสทช. จะเพิกถอนการอนุญาตต่าง ๆ ของ NTC. ID (ตราครุฑ) ความถี่เดิมออกทั้งหมด ดังนั้นถือว่าผิดกฏหมาย 100%
  9. แล้วของเก่าที่มีสามารถทำอะไรกับมันได้บ้าง?
    • ตั้งแต่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2561 เป็นต้นไป ถึง 31 มีนาคม พ.ศ.2564 กสทช. อนุญาตให้ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายเรียกคืนเครื่องเพื่อปรับลดความถี่จาก 794-806MHz เป็น 803-806MHz เพื่อให้สามารถใช้งานต่อไปในปี 2564 ได้ตามประกาศ
  10. การปรับลดความถี่มีสิ่งที่ควรรู้อย่างไรบ้าง?
    • จำนวนช่องใช้งานพร้อมกันน้อยลง, ไม่สามารถปรับลดได้ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ และมีค่าใช้จ่าย
  11. แล้วถ้าเครื่องที่มีไม่สามารถปรับลดได้?
    • จะกลายเป็นขยะอิเลกโทรนิคส์หลัง 31 มีนาคม พ.ศ.2564 ผู้ใช้ต้องขอใบอนุญาต "มี" กับ กสทช. แต่ไม่สามารถใช้ได้
  12. แล้วถ้าไมโครโฟนไร้สายและ Wireless In-Ear Monitor ของฉันไม่สามารถปรับลดได้ แต่ใช้งานแค่ 803-806MHz จะเป็นอะไรหรือไม่? 
    • ถือว่าผิด พรบ.วิทยุฯ พ.ศ. 2498 อยู่ดี
  13. ถ้าอุปกรณ์ที่ฉันมีอยู่เป็นความถี่นอก (เถื่อน) ถือว่าประกาศนี้ทำอะไรฉันไม่ได้ใช่หรือไม่?
    • ได้ไม่ได้ไม่รู้ รู้แต่ผิด พรบ.วิทยุฯ พ.ศ.2498 แน่นอน และผิดมาตั้งแต่นำเข้าหรือเลือกซื้อมาใช้แล้ว
  14. ถ้าอุปกรณ์ที่ฉันมีอยู่เป็นความถี่นอก (เถื่อน) แต่มีความถี่ที่จะถูกกฏหมายหลัง 31 มีนาคม พ.ศ.2564 สามารถใช้งานได้หรือไม่?
    • ไม่ เพราะไม่ได้นำเข้ามาอย่างถูกต้องตั้งแต่ต้น ถือว่าผิดพรบ.วิทยุฯ 
  15. จะได้ใช้และซื้อไมโครโฟนไร้สายและ Wireless In-Ear Monitor ความถี่ใหม่เมื่อไหร่?
    • 1 มกราคม พ.ศ.2564 เป็นต้นไป
  16. ซื้อก่อนหน้านั้นเป็นไปได้หรือไม่?
    • ไม่ได้ แต่สามารถทำสัญญาซื้อขายกับผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายไว้ก่อนได้
  17. ทำไมต้องเปลี่ยนความถี่?
    • เพราะความถี่ปัจจุบันตรงกับมาตรฐานโครงข่ายการสื่อสารที่ใช้กันทั่วโลก
  18. นอกจาก 3 ความถี่ข้างต้น สามารถใช้งานไมโครโฟนไร้สายและ Wireless In-Ear Monitor ที่ความถี่อื่นได้อีกหรือไม่?
    • กสทช. ได้ให้ความถี่ย่าน VHF 88-108MHz และ 175-210MHz ไว้ตั้งนานแล้ว ใครสนใจก็ไปใช้งานได้ แต่จะมีข้อจำกัดด้านตัวเลือกสินค้าและกำลังส่ง
  19. ประกาศของ กสทช. สามารถเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่?
    • ไม่ได้ แต่สามารถอนุโลมตามกรณี (เช่นขยายระยะใช้ความถี่เดิมเป็น 31 มีนาคม พ.ศ.2564) แต่ผู้บริโภคสามารถดำเนินการตามกรอบกฏหมายได้
  20. ฉันเป็นสถานศึกษา, หน่วยงานราชการ, มูลนิธิ และหน่วยงานไม่แสวงหาผลกำไรอื่น ๆ ได้รับการยกเว้นหรือไม่?
    • ไม่
  21. ฉันต้องการรู้มาตรการเรียกคืนไมโครโฟนไร้สายและ Wireless In-Ear Monitor ของผู้จัดจำหน่ายของฉัน?
    • ตอนนี้ทุกเจ้ากำลังปรึกษากับผู้ผลิตอยู่ ถ้าได้เรื่องอย่างไร "โต ติงต๊อง" จะนำมา Update ให้ทราบกัน
  22. ฉันจะทราบข่าวสารเพิ่มเติมได้อย่างไร?
    • กด Like Facebook Page ของ "โต ติงต๊อง" เพื่อทราบการ Update ข่าวสารและแวะกลับมาดูหน้าเว็บไซต์นี้อย่างสม่ำเสมอ

-----

ข้อมูลเพิ่มเติม

  1. มาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ สําหรับเครื่องวิทยุคมนาคม ประเภทไมโครโฟนไร้สาย คลิกที่นี่
  2. หลักเกณฑ์การใช้คลื่นความถี่สําหรับเครื่องวิทยุคมนาคม ประเภทไมโครโฟนไร้สาย คลิกที่นี่
  3. หลักเกณฑ์การใช้คลื่นความถี่สําหรับเครื่องวิทยุคมนาคม ประเภทไมโครโฟนไร้สาย (ฉบับที่ ๒) คลิกที่นี่

-----

ติดตามข่าวสารจาก