fbpx

โต ติงต๊อง ออดิโอ อีเวนท์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น

เพื่อการเริ่มต้นอย่างมั่นใจ ดำเนินไปอย่างราบรื่น และจบลงอย่างสง่างาม

วิธีป้องกัน Feedback (ไมค์หอน) โดย

ใน Video Blog ตอนที่ 40 "โต ติงต๊อง" ได้อธิบายไปแล้วถึงวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อเกิดไมค์หอน (Feedback) ขึ้น ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่างานจบไม่สวยเพราะเกิดขึ้นกลางงาน โดยปัจจัยหลักที่มีส่วนสำคัญต่อการเกิด Feedback คือ 

  1. จุดบอดของมุมกระจายเสียง - ไม่มีลำโพงรุ่นไหนยี่ห้อใดสามารถกระจายเสียงไปยังพื้นที่หวังผลได้ครอบคลุมทั้งหมด ต้องมีจุดบอดเกิดขึ้นไม่มากก็น้อย
  2. ความสม่ำเสมอของเสียง - ถึงแม้อยู่ในพื้นที่หวังผลและในมุมกระจายเสียง แต่ถ้าเสียงที่ส่งมาดังไม่พอไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตามก็ไร้ประโยชน์
  3. ความชัดเจนของเสียง  - ถึงจะดังอย่างสม่ำเสมอและครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด แต่ถ้าเสียงก้องจนฟังไม่รู้เรื่องหรือทึบจนอึดอัด ก็คงเละเทะน่าดู

 จาก 3 ปัจจัยข้างต้น ถ้าผู้ควบคุมเสียงคิดว่าสามารถแก้ไขได้ด้วยการเร่งเสียงถือว่าผิดอย่างมหันต์ เพราะนอกจากพื้นที่หวังผลอื่นที่ไม่ได้อยู่ในจุดบอดจะได้รับเสียงที่ดังล้นแล้ว ปัญหาความชัดเจนของเสียงจะแย่ลงตามความดังอีกด้วยเพราะมีลักษณะเฉพาะของสถานที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ท้ายที่สุดก็หอนไปตามระเบียบ

ใน Video Blog ตอนที่ 41 นี้ "โต ติงต๊อง" จะมาอธิบายถึงวิธีแก้ไขปัญหาไมค์หอน (Feedback) ที่แก้ได้อย่างชะงัดและเห็นผลดีขึ้นชัดเจน เพราะทุกอย่างที่พูดใน Video Blog Episode นี้ อยู่ในฐานความรู้สาขาฟิสิกส์ล้วน ๆ

ดู Video Blog ได้ที่นี่

ติดตามข่าวสารจาก

คลิกเพื่อกลับหน้า Landing Page ของ Video Blog

บริการของเรา